หลังจากที่หายไปนานเกือบปี 😅 ก็ได้ฤกษ์กลับมาเขียนอีกครั้ง 👏🏼👏🏼👏🏼
.
.
มารู้จักการบินทั่วไป หรือ General Aviation กันดีกว่า
.
“General Aviation (GA) are all civil aviation operations other than scheduled air services and non-scheduled air transport operations for remuneration or hire. General aviation flights range from gliders and powered parachutes to corporate business jet flights. The majority of the world’s air traffic falls into this category, and most of the world’s airports serve general aviation exclusively.” – wikipedia
.
สรุปง่ายๆเลยก็คือ การบินทั่วไปหรือที่เรารู้จักในนาม General Aviation เรียกกันสั้นๆว่า GA เป็นการทำการบินนอกเหนือจากการบินที่บินตามตารางเวลา (Scheduled Flight) ซึ่งคนส่วนมากรู้จักกันในรูปแบบของสายการบิน (Commercial Flight)
.
GA จึงมีตั้งแต่เครื่องบินประเภท Gliders (เครื่องร่อน) ไปจนถึง Corporate Business Jet เช่น
– การบินรับ-ส่งผู้ป่วย (Air Ambulance)
– การบินเช่าเหมาลำ (Charter flight)
– การบินชมทัศนียภาพ (Sightseeing or Discovery flight)
– การบินลากป้ายโฆษณา (Banner Towing)
.
ประเทศไทยเรานั้นมีบริษัทที่เป็น General Aviation อยู่หลายบริษัท ที่ให้บริการทั้ง Air Charter, Private Jet และ Air Ambulance.
.
ในเมื่อมี GA ก็ต้องมี Fixed Based Operator (FBO) ในความหมายของ FBO คือการรวมการบริการต่างๆ เช่น การบริการเครื่องเช่าเหมาลำ (Charter flight) การซ่อมบำรุง (Maintainance) การบริการติดต่อ/จัดสรรที่จอด (Ground handling) การบริการเติมน้ำมัน ด่านตรวจคนเข้าเมือง ศุลกากร ฯลฯ
.
ในกรุงเทพฯมีให้บริการ FBO หรือ อาคารผู้โดยสารส่วนบุคคล (Private Jet Terminal) ตั้งอยู่ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง
.
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้ให้บริการ FBO ได้ที่: http://propilotmag.com/mjets/
หลังจากผ่าน Stage I ก็ถึงเวลาที่จะทำ Solo Flight จากที่เคยได้กล่าวไว้ โรงเรียนที่เราเรียนจะทำ Solo Flight ทั้งหมด 3 ครั้ง (2 ครั้งใน traffic pattern 1 ครั้ง outside class D airspace)
เมื่อเราสอบ Stage I ผ่าน อาจารย์เราก็ทบทวนการบิน traffic pattern และการทำแลนด์ดิ้งให้มั่นใจว่าเราสามารถบินเองโดยที่ไม่มีอาจารย์อยู่บนเครื่องกับเราได้จริงๆ เพราะเมื่อผ่าน Stage I ( Pre-Solo ) แล้ว คือ การที่อาจารย์จะปล่อยให้เราบิน SOLO หรือ การบินเดี่ยวครั้งแรก ซึ่งที่ Paris Air, Inc. จะมีการทำ SOLO 3 ครั้ง 2 ครั้งใน traffic pattern และ 1 ครั้ง Outside Class D Airspace ซึ่งสนามบิน Vero Beach Municiple Airport ที่โรงเรียนเราตั้งอยู่เป็นสนามบิน Class D Airspace เป็นสนามบินที่มีหอควบคุมการบิน หรือ Air Traffic Controller ( ATC ) การที่เราจะเข้าไปในระยะควบคุมของสนามนี้ได้เราต้องได้ Clearance หรือคำอนุญาตจาก ATC ก่อนเราถึงจะเข้าไปได้ ซึ่งการบินในสนามบินที่มีหอควบคุมเราไม่จำเป็นที่จะต้อง join 45 degree downwind เข้าไปล่ะ ขึ้นอยู่กับว่าหอเค้าจะสั่งให้เราไปเข้าตรงไหน อาจจะเป็น join base หรือ full left/right downwind ก็ได้
Class D airspace is normally extends from the surface to 2,500 ft.
above the ground. The outer radius is 4 nautical miles (NM)
Vero Beach Municipal Airport (KVRB) *FYI เลข 25 ที่เห็น..เป็นเขตกำหนด Airspace จาก Surface to 2,500 ft. และก็เส้นวงกลมที่เป็นขีดๆ คือขอบเขตของ Class D airspace ถ้าต้องการเข้าไปในวงนั้นต้องได้รับ Clearance จาก ATC ก่อน
สาเหตุที่เราเลือกเรียนที่อเมริกา คือ เราต้องการที่จะกลับไปทำงานที่บริษัทเดิม ซึ่งเราขอ Leave without Pay จากทางบริษัทไปเรียน แต่เมื่อถึงวันที่เรากลับไปที่บริษัท ไปคุยกับแผนกรับนักบินของบริษัท ทางแผนกบอกว่าเราขาดไป 2 สิ่ง ทำให้เค้าไม่สามารถรับเราในตำแหน่ง Second Officer ได้ เค้าบอกว่าให้เรากลับไปเรียนใบอนุญาติ 2 สิ่งนี้มา ซึ่งก็คือ ATP-CTP ( Airline Transport Pilot Certification Training Course ) และ MCC ( Multi Crew Co-ordination ) บวกกับการที่เราได้คุยกับเพื่อนเราที่เป็น First Offiers และ Captain หลายคนแนะนำว่า…ถ้าเรามีโอกาสที่จะไปสมัครที่อื่น ให้เราไปเก็บชั่วโมงบินให้ครบ 1,500 ชม. ทำ ATP ( Airline Transport Lincese ) ให้พร้อม แล้วค่อยกลับมาสมัครใหม่
Multi Crew Co-ordination คือ หลักสูตรที่ฝึกนักบินจบใหม่ (Single-Pilot)
ให้มีความคุ้นเคยกับการบินเป็นคู่ (Multi-Pilot or Multi Crew)
ซึ่งสายการบินต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นการบินแบบ Multi Crew ทั้งสิ้น